งานประกันคุณภาพการศึกษา

43020166@nongkhai2.go.th

ข้อมูลทั่วไป

กลุ่มบริหารวิชาการ

  • หลักสูตรสถานศึกษา
  • งานวัดผลและประเมินผล
  • งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • งานแนะแนว
  • ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

กลุ่มบริหารงานบุคคล

  • ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • บันทึกข้อตกลงงาน(PA)สถานศึกษา
  • แฟ้มสะสมงาน Online

กลุ่มบริหารงานงบประมาณ

  • งานบริหารการเงินและบัญชี
  • งานพัสดุและสินทรัพย์
  • แผนปฏิบัติการประจำปี
  • แผนพัฒนาการศึกษา

กลุ่มบริหารทั่วไป

  • คู่มือความปลอดภัยในสถานศึกษา
  • แผนเผชิญเหตุ
  • เอกสารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

คู่มือ/แนวทางปฏิบัติ

คู่มือการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
คู่มือ กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอก พ.ศ.2567-2571

Website ที่เกี่ยวข้อง

1
1. ประกาศ การใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
  • ประจำปีการศึกษา 2563
  • ประจำปีการศึกษา 2564
  • ประจำปีการศึกษา 2565
  • ประจำปีการศึกษา 2566
  • ประจำปีการศึกษา 2567
2. ประกาศ การกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
  • ประจำปีการศึกษา 2563
  • ประจำปีการศึกษา 2564
  • ประจำปีการศึกษา 2565
  • ประจำปีการศึกษา 2566
  • ประจำปีการศึกษา 2567
3. ประกาศ คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบระบบประกันคุณภาพและประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา
  • ประจำปีการศึกษา 2563
  • ประจำปีการศึกษา 2564
  • ประจำปีการศึกษา 2565
  • ประจำปีการศึกษา 2566
  • ประจำปีการศึกษา 2567
4. รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (SAR)
5. สรุปผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
  • ประจำปีการศึกษา 2563
  • ประจำปีการศึกษา 2564
  • ประจำปีการศึกษา 2565
  • ประจำปีการศึกษา 2566
  • ประจำปีการศึกษา 2567
6. รายงานการติดตามตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายใน สถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา
  • ประจำปีการศึกษา 2563
  • ประจำปีการศึกษา 2564
  • ประจำปีการศึกษา 2565
  • ประจำปีการศึกษา 2566
  • ประจำปีการศึกษา 2567
7. คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
  • ประจำปีการศึกษา 2563
  • ประจำปีการศึกษา 2564
  • ประจำปีการศึกษา 2565
  • ประจำปีการศึกษา 2566
  • ประจำปีการศึกษา 2567
  • ประจำปีการศึกษา 2563
  • ประจำปีการศึกษา 2564
  • ประจำปีการศึกษา 2565
  • ประจำปีการศึกษา 2566
  • ประจำปีการศึกษา 2567
8. รายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice

ด้านสถานศึกษา

  • IQA Awards ประจำปี 2566
  • สถานศึกษายอดเยี่ยม ด้านการบริหารจัดการ OBEC AWARDS
  • Best Practice ระบบนิเทศภายใน ประจำปี 2567

ด้านผู้บริหาร ครูและบุคลากรฯ

  • ผู้บริหารสถานศึกษายอดเยี่ยม OBEC AWARDS ด้านนวัตกรรมฯ
  • ครูผู้สอนยอดเยี่ยม OBEC AWARDS ด้านนวัตกรรมฯ

VTR การประเมิน IQA AWARD ประจำปีการศึกษา 2566



2
ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษา

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ระดับการศึกษาปฐมวัย

VTR แนะนำ ปฐมวัย

เอกสารประกอบการประกันคุณภาพภายนอก ของโรงเรียนบ้านโนนสวรรค์การศึกษาปฐมวัย

ผลลัพธ์คุณภาพของเด็กปฐมวัย

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ เด็กเจริญเติบโตสมวัย สุขภาพแข็งแรงและมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว

เด็กเจริญเติบโตสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกําหนด ดังนี้

• เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายตามวัย มีน้ําหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน

• เด็กเคลื่อนไหวคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้ ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ใช้มือกับตาประสานสัมพันธ์ได้ เหมาะสมตามวัย

• เด็กดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและช่องปาก ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมตามวัย

• เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้หลากหลายชนิด

• เด็กเล่น ทํากิจกรรมและปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัยได้เหมาะสมตามวัย

    ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้และสร้างสรรค์

    เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้และสร้างสรรค์ ตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

    กําหนด ดังนี้

    • เด็กสามารถบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง บุคคลอื่น สถานที่ สิ่งแวดลPอม และสิ่งต่าง ๆ

    • เด็กมีความสามารถในการคิดรวบยอด มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สามารถสังเกต จําแนกสิ่งของและเปรียบเทียบจํานวน เข้าใจมิติสัมพันธ์ของพื้นที่ เวลา และเรียงลําดับเหตุการณ์ได้ ในการคิดแก้ปัญหาตัดสินใจแก้ปัญหาในเรื่องง่าย ๆ ได้

    • เด็กสามารถสร้างผลงานตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

    ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร

    เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกําหนด ดังนี้

    • เด็กสามารถฟัง พูด สื่อสารโต้ตอบ ตั้งคําถาม เล่าเรื่องต่อเนื่องได้ แสดงความคิดเห็น สื่อความหมายบอกความต้องการด้วยคําพูดและท่าทาง

    • เด็กสามารถอ่านภาพ สัญลักษณ์ ใช้หนังสือ รู้จักตัวอักษร และอ่านเบื้องต้นได้

    • เด็กสามารถวาด ขีดเขียนคํา ตามลําดับขั้นพัฒนาการ

    ตัวชี้วัดที่ ๑.๔ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

    เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกําหนด

    • เด็กมีความสุข ร่าเริง แจ่มใส รู้สึกมั่นคงปลอดภัย แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

    • เด็กมีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก รู้จักการยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย

    • เด็กมีความสนใจ และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้เหมาะสมตามวัย ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ตามวัย

    ตัวชี้วัดที่ ๑.๕ เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมและคุณธรรม

    เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมและคุณธรรม ตามเป้าหมายที่สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกําหนด

    • เด็กยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เลMนทํางานร่วมกับผู้อื่น เป็นผู้นํา ผู้ตาม

    สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กําหนดได้

    • เด็กมีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความเมตตา กรุณา เห็นใจผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน มีวินัยในตนเอง มีความซื่อสัตย์

    มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น

    • เด็กมีความภาคภูมิใจในการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม

    การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

    ตัวชี้วัดที่ ๒.๑ วิสัยทัศน์พันธกิจ และค่านิยมของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

    สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการดําเนินการ ดังนี้

    • กําหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมที่สะท้อนให้เห็นถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างเหมาะสมตามวัย

    • สร้างค่านิยมที่สอดคล้องกับบริบทและเอกลักษณ์ โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย และมีการสื่อสารให้ผู่เกี่ยวข้องรับทราบ

    ตัวชี้วัดที่ ๒.๒ กลยุทธ์และเป้าหมายของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

    สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการดําเนินการ ดังนี้

    • กําหนดกลยุทธ์และเป้าหมายที่สามารถวัดความสําเร็จได้ และมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง

    • ประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบที่เชื่อถือได้ โดยเน้นการนําผลการประกันคุณภาพภายในไปใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

    • รายงานผลการดําเนินงานต่อสาธารณชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

    ตัวชี้วัดที่ ๒.๓ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีภาวะผู้นําทางวิชาการ และบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล

    ผู้บริหารมีการดําเนินการ ดังนี้

    • มีภาวะผู้นํา มีความรู้ความเข้าใจหลักการการจัดการศึกษาปฐมวัยและมุ่งมั่นดําเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็กปฐมวัย

    • บริหารจัดการตามโครงสร้างการบริหารงานที่เป็นระบบของสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

    • บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อสะท้อนความรับผิดชอบต่อคุณภาพและสวัสดิภาพของเด็กครอบคลุมทั้ง ๖ หลัก ได้แก่ ๑) หลักนิติธรรม ๒) หลักคุณธรรม ๓) หลักความโปร่งใส ๔) หลักความมีส่วนร่วม ๕) หลักความรับผิดชอบ และ ๖) หลักความคุ้มค่า

    ตัวชี้วัดที่ ๒.๔ การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหาร ครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษา

    ผู้บริหารมีการดําเนินการ ดังนี้

    • พัฒนาความรู้ ทักษะของผู้บริหาร ครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษาให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาชีพหรือหน้าที่การงาน ซึ่งครอบคลุมเรื่องการจัดการความเสี่ยง ความปลอดภัย การดูแลคุ้มครองเด็ก

    จากการถูกรังแกและถูกคุกคาม

    • ครูหรือผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ได้รับการพัฒนาในแต่ละปีการศึกษา

    ตัวชี้วัดที่ ๒.๕ การนิเทศครูหรือผู้ดูแลเด็กและการประเมินการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ

    ผู้บริหารมีการดําเนินการ ดังนี้

    • จัดให้มีการนิเทศ ประเมินผลการจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ของครูหรือผู้ดูแลเด็ก โดยนําผลไปพัฒนาคุณภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

    • จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูหรือผู้ดูแลเด็ก โดยนําผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย

    • มีการช่วยเหลือแนะนํา ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูหรือผู้ดูแลเด็ก อย่างสม่ําเสมอ

    ตัวชี้วัดที่ ๒.๖ การใช้สื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเพียงพอและปลอดภัย

    สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดําเนินการ ดังนี้

    • มีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่หลากหลาย และมีความปลอดภัยสําหรับเด็ก เพื่อใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามพัฒนาการของเด็ก1

    • มีการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และมีสิ่งอํานวยความสะดวกมีการให้บริการที่สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ

    ตัวชี้วัดที่ ๒.๗ การจัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ที่มีความมั่นคงและปลอดภัย

    สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดําเนินการ ดังนี้

    • มีการจัดสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ สนามเด็กเล่น เครื่องเล่น และสิ่งอํานวยความสะดวกให้มีความมั่นคง ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ

    • มีพื้นที่สําหรับการทํากิจกรรมการเรียนรู้ มีแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายและมีความปลอดภัย

    ตัวชี้วัดที่ ๒.๘ สวัสดิการ สวัสดิภาพ แนวทางการป้องกันโรค อุบัติภัย ภัยพิบัติ

    สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดําเนินการ ดังนี้

    • มีการจัดการโภชนาการที่ดี น้ําดื่มน้ําใช้ที่สะอาด สถานที่รับประทานอาหาร ห้องน้ํา ห้องส้วมและมุมของใช้ส่วนตัวของเด็กที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ

    • มีห้องหรือมุมปฐมพยาบาล ยาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ที่จําเป็นสําหรับการปฐมพยาบาลเด็ก

    • มีการตรวจสุขภาพอนามัยประจําวัน มีบริการตรวจสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากประจําปีมีการป้องกันความเจ็บป่วยของเด็ก และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงและพัฒนาการตามวัย

    • มีแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค มีการติดตามเฝ้าระวังป้องกันการเกิดอุบัติภัยภัยพิบัติ โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

    • มีมาตรการรักษาความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษาหรือตามนโยบายที่ต้นสังกัดกําหนดที่ตรวจสอบได้

    ตัวชี้วัดที่ ๒.๙ กระบวนการเฝ้าระวัง การคัดกรองเบื้องต้น สําหรับเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ

    สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดําเนินการ ดังนี้

    • มีการเฝ้าระวัง พิจารณา คัดกรองเด็กรายบุคคลเพื่อให้ความช่วยเหลือระยะแรกแก่เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ

    • มีการสังเกต พูดคุย บันทึกลักษณะพัฒนาการ/พฤติกรรมของเด็ก

    • มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ปกครองด้านพัฒนาการ/พฤติกรรมเด็กอย่างต่อเนื่อง

    • มีกระบวนการส่งต่อเพื่อดําเนินการช่วยเหลือตามขั้นตอน ให้เด็กได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างมีคุณภาพโดยความร่วมมือของผู้ปกครอง/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

    ตัวชี้วัดที่ ๒.๑๐ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก

    สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดําเนินการ ดังนี้

    • การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก

    • มีการสร้างเครือข่าย สร้างความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก ในรูปแบบที่หลากหลาย

    การพัฒนาคุณภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัย

    ตัวชี้วัดที่ ๓.๑ หลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

    สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดําเนินการ ดังนี้

    • มีหลักสูตรสถานศึกษาและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมีการดําเนินการ มีการบันทึกหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และประเมินพัฒนาการของเด็ก

    • มีหลักสูตรสถานศึกษาและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านผ่านการบูรณาการตามธรรมชาติของเด็กที่เรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสและการลงมือปฏิบัติ

    • มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

    ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะพึงประสงค์ที่ เหมาะสมกับวัย

    ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีการดําเนินการโดยคํานึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้

    • มีการจัดกิจกรรมการบูรณาการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และประสบการณ์สําคัญที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

    • มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม รักครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก

    • มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ในกิจวัตรประจําวัน

    ตัวชี้วัดที่ ๓.๓ ครูหรือผู้ดูแลเด็กประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

    ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีการดําเนินการ ดังนี้

    • มีกระบวนการติดตาม วัดและประเมินพัฒนาการด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายโดยร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก

    • มีระบบสารสนเทศด้านการติดตาม วัดและประเมินพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง

    • มีการเฝ้าระวังติดตามพัฒนาการของเด็กรายบุคคลเป็นระยะ และนําผลไปใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กปฐมวัย

    ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

    ผลลัพธ์ของการเรียนรู้

    ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรสถานศึกษา

    ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรสถานศึกษาเป็นไปตามเปาหมายที่สถานศึกษากําหนด ดังนี้

    • ความสามารถในการสื่อสาร สามารถในการรับและส่งสารใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้ง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

    โดยคํานึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

    • ความสามารถในการคิด ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดเป็นระบบ เพื่อนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

    • ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

    • ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนํากระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดําเนินชีวิตประจําวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทํางานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธUอันดีระหว่างบุคคล การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม

    สภาพแวดล้อมและดํารงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

      ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา

      ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากําหนด ดังนี้

      ๑) รักชาติ ศาสนU กษัตริย์ ๒) ซื่อสัตย์สุจริต ๓) มีวินัย ๔) ใฝ่เรียนรู้ ๕) อยู่อย่างพอเพียง ๖) มุ่งมั่นในการทํางาน ๗) รักความเปIนไทย ๘) มีจิตสาธารณะ 

      ตัวชี้วัดที่ ๑.๓ ผู้เรียนสามารถนําตนเองในการเรียนรู้

      ผูู้เรียนสามารถนําตนเองในการเรียนรู้ ๑ เป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษา
      กําหนด ดังนี้

      • ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีการวางแผน กําหนดวิธีการเรียนรู้

      ตามความสนใจ ความถนัด ด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

      • ผู้เรียนสามารถนําแผนการเรียนรู้สู่การปฏิบัติได้ มีผลงาน ชิ้นงาน เชิงประจักษ์

      • ผู้เรียนสามารถประเมินผลความก้าวหน้าการเรียนรู้ และนําไปสู่การพัฒนาตนเองได้

      การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา

      ตัวชี้วัดที่ ๒.๑ วิสัยทัศน์พันธกิจ และค่านิยมของสถานศึกษา

      สถานศึกษามีการดําเนินการ ดังนี้

      • กําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมที่สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อนําไปจัดทํานโยบายและทิศทางการบริหาร

      • จัดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกมีส่วนร่วมในการกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยมของสถานศึกษา

      ตัวชี้วัดที่ ๒.๒ นโยบาย ทิศทาง กลยุทธ์และแผนงานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ

      สถานศึกษามีการดําเนินการ ดังนี้

      • กําหนดนโยบาย ทิศทางการบริหาร และจัดทําแผนพัฒนา ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของสถานศึกษา

      • กําหนดกลยุทธ์และแผนงานของสถานศึกษาที่สามารถวัดความสําเร็จได้ และมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง

      • สื่อสารและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการประจําปีให้ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับทราบอย่างทั่วถึง

      • บริหารงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่าง ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

      • ประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบที่เชื่อถือได้ โดยเน้นการนําผลการประกันคุณภาพภายในไปใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

      ตัวชี้วัดที่ ๒.๓ ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นําทางวิชาการและบริหารจัดการ ด้วยหลักธรรมาภิบาล

      ผู้บริหารมีการดําเนินการ ดังนี้

      • บริหารจัดการหลักสูตร การสอน สื่อสารแผนงานวิชาการและสร้างบรรยากาศทางวิชาการ

      • ส่งเสริม กระตุ้น ชี้แนะ ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเห็นความสําคัญของการดําเนินงานเพื่อผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียน

      • ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

      • สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีของครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

      • บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อสะท้อนความรับผิดชอบต่อคุณภาพและสวัสดิภาพของผู้เรียนครอบคลุมทั้ง ๖ หลัก ได้แก่ ๑) หลักนิติธรรม ๒) หลักคุณธรรม ๓) หลักความโปร่งใส ๔) หลักความมีส่วนร่วม ๕) หลักความรับผิดชอบ และ ๖) หลักความคุ่มค่า

      ตัวชี้วัดที่ ๒.๔ แผนงานและการดําเนินงานด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

      ผู้บริหารมีการดําเนินการ ดังนี้

      • ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาตามเป้าหมายที่สถานศึกษากําหนด แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐

      ของจํานวนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในแต่ละปีการศึกษา

      • พัฒนาความรู้ ทักษะให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาชีพหรือหน้าที่การงาน ซึ่งครอบคลุมเรื่องการจัดการความเสี่ยง ความปลอดภัย การดูแล คุ้มครองผู้เรียนจากการถูกรังแก และถูกคุกคาม

      ตัวชี้วัดที่ ๒.๕ กระบวนการนิเทศการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างเป็นระบบ

      ผู้บริหารมีการดําเนินการ ดังนี้

      • จัดให้มีการนิเทศ ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู โดยนําผลไปพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้

      • จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาและนําผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

      • มีการช่วยเหลือแนะนํา และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างสม่ําเสมอ

      ตัวชี้วัดที่ ๒.๖ การใช้สื่อ อุปกรณ์ระบบเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา

      สถานศึกษามีการดําเนินการ ดังนี้

      • มีระบบและอุปกรณUเทคโนโลยีในการสนับสนุนการจัดการศึกษาที่เพียงพอตามบริบทสถานศึกษา

      • ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียน ให้ใช้สื่อ อุปกรณ์อย่างเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้

      ตัวชี้วัดที่ ๒.๗ การจัดสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ

      สถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการดําเนินการ ดังนี้

      • มีอาคารสถานที่ พื้นที่สําหรับทํากิจกรรมการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวกที่เพียงพอต่อผู้เรียน ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้และสนับสนุนการพัฒนาตนเองของผู้เรียน

      • มีการบํารุงรักษา มีมาตรการด้านความปลอดภัยของอาคารสถานที่ พื้นที่
      สําหรับทํากิจกรรมการเรียนรู้สภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวก และมีการปรับปรุงการดําเนินงานตามแผนทุกด้าน

      • มีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ

      ตัวชี้วัดที่ ๒.๘ สวัสดิการ สวัสดิภาพ แนวทางการป้องกันโรค อุบัติภัย ภัยพิบัติ

      สถานศึกษามีการดําเนินการ ดังนี้

      • มีการจัดการโภชนาการที่ดี น้ําดื่มน้ําใช้ที่สะอาด สถานที่รับประทานอาหาร ห้องน้ํา ห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ

      • มีห้องหรือมุมปฐมพยาบาล ยาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ที่จําเป็นสําหรับการปฐมพยาบาล

      • มีบริการตรวจสุขภาพร่างกายประจําปีมีการป้องกันความเจ็บป่วยของผู้เรียน และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

      • มีแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค มีการติดตามเฝ้าระวังป้องกันการเกิดอุบัติภัยภัยพิบัติ โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

      • มีมาตรการรักษาความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษาหรือตามนโยบายที่ต้นสังกัดกําหนดที่ตรวจสอบได้

      ตัวชี้วัดที่ ๒.๙ ระบบและกระบวนการช่วยเหลือผู้เรียน

      สถานศึกษามีการดําเนินการตามระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ดังนี้

      • การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน

      • การคัดกรองผู้เรียน มีการประเมินความเสี่ยง มีการคัดกรองเบื้องต้นอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยเหลือ

      • การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาตามความถนัดและความสนใจของตนเอง

      • มีระบบให้คําปรึกษาแนะแนวตามความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน

      • การป้องกันและแก้ไขป้ญหาของผู้เรียนทุกคนอย่างทั่วถึง

      • มีกระบวนการส่งต่อผู้เรียนกรณีที่มีความจําเป็น

      ตัวชี้วัดที่ ๒.๑๐ การเสริมสร้างเครือข่ายผู้ปกครอง องค์กร และชุมชน เพื่อความร่วมมือในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน

      สถานศึกษามีการดําเนินการ ดังนี้

      • การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการศึกษาและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน

      โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสม

      • มีการสร้างเครือข่าย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอกในรูปแบบที่หลากหลาย

      • มีฐานข้อมูลที่ปลอดภัยและคํานึงถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

      (Personal Data Protection Act : PDPA)

      การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้

      ตัวชี้วัดที่ ๓.๑ การออกแบบหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ที่ เสริมสร้างสมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

      สถานศึกษามีการดําเนินการ ดังนี้

      • มีหลักสูตรสถานศึกษาและแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

      มีการบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

      • มีหลักสูตรสถานศึกษาและแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

      • มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

      ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ เสริมสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

      ครูมีการดําเนินการโดยคํานึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้

      • มีการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

      • มีการจัดกิจกรรมบูรณาการส่งเสริมเจตคติที่ดีตามความต้องการ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียนสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

      • มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนําตนเองในการเรียนรู้

      ตัวชี้วัดที่ ๓.๓ ครูวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

      ครูมีการดําเนินการ ดังนี้

      • วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ผู้ปกครองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

      • มีระบบสารสนเทศเพื่อติดตามวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคลและให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนนําไปพัฒนาตนเอง

      • การนําผลการประเมินมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล และรายงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

      กิจกรรมโรงเรียนบ้านโนนสวรรค์

      กิจกรรมร่วมชุมชน

      กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2567

      วันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

      กิจกรรมถวายภัตตาหารเพลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

      กิจกรรมแห่เทียนเข้าพรรษา ประจำปี 2567

      โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง จากมูลนิธิกระจกเงา